หน้าเว็บ

วันพุธที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เก็บBATCHหรือสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับ Alarm ไว้ดูย้อนหลัง

หากต้องการรู้ว่า ณ ขณะที่เกิด Alarm สัญญาณอื่น ๆ ที่เราสนใจมีค่าเป็นอย่างไร หรือเพื่อเก็บข้อมูลBatch เพื่อนำมาวิเคราะห์กระบวนการ ฯลฯ เราสามารถทำได้ดังนี้
ใน GENESIS32, GENESIS64 เราสามารถกำหนดให้ AlarmWorX32 Configurator ทำการบันทึกค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ที่ต้องการได้เมื่อเกิดเหตุขัดข้องเกิดขึ้น ทำให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ในภายหลังได้ว่าเหตุขัดข้องนั้นเกิดจากสาเหตุที่เป็นไปได้ใดบ้าง
clip_image001
รูปที่ 1
เราสามารถให้มีการบันทึกค่าพารามิเตอร์ได้ 20 ค่า(Related Vslues)ใน 1 Alarm Tag ถ้าต้องการมากกว่านี้สามารถกำหนด Alarm tag เพิ่มได้โดยให้มี Alarm Input  เดียวกัน แต่มี Related Value ต่างกับชุดแรก ทำให้เราสามารถดูได้จาก SCADA ณ ขณะที่เกิด Alarm นั้นว่าค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ เช่นสถานะของ Pump, Speed, Temperatur, Humidity, Switch, ฯลฯ ที่เรานำสัญญาณเข้ามาพิจารณานั้นมีค่าหรือสถานะเช่นไร ณ ขณะที่เกิด Alarm ไม่ต้องไปเดินตรวจสอบในโรงงานให้เสียเวลา
อีกทางหนึ่งที่สามารถทำการบันทึกค่าพารามิเตอร์ในฐานข้อมูล คือบันทึกใน TrendWorX เพื่อแสดงผลแบบ Trend โดยเราสามารถใช้ Alarm Tag จาก AlarmWorX มาเป็นตัวเริ่มและหยุดการบันทึกค่า จากรูปที่ 2 ซึ่งเป็นหน้าคอนฟิก TrendWorX Configurator ซึ่งจะกำหนดว่าสัญญาณใดบ้างที่ต้องการเก็บในฐานข้อมูลเพื่อเอามาแสดงเป็น Trend ซึ่งสามารถดูย้อนหลังได้ เราสามารถกำหนดการ Start / Stop การเก็บข้อมูลได้โดยใช้ Alarm Tag จาก AlarmWorX มาเป็นเงื่อนไข
clip_image002
รูปที่ 2
ดังนั้นเมื่อเกิดขัดข้องเช่น ส่วนหนึ่งส่วนใดของกทระบวนการผลิตหยุดทำงาน ก็จะมีการเก็บข้อมูล Parameter ต่าง ๆ เมื่อกระบวนการเข้าสู่ภาวะปกติก็จะหยุดการบันทึกข้อมูล

การใช้ AlarmWorX Configurator และ AlarmWorX Logger เพื่อเก็บสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับAlarm

หากต้องการใช้AlarmWorXเก็บสัญญาณที่เกี่ยวข้อง ให้คอนฟิก Related ValueในAlarmWorX Configurator ดังรูปที่1 จากนั้นเราจำเป็นต้องคอนฟิก AlarmWorX Logger เพื่อให้นำสัญญาณจาก AlarmWorX Configurator มาเก็บในฐานข้อมูล โดยดูวิธีการคอนฟิกทั่วไปจาก VDO นี้

โดยจะมีขั้นตอนการคอนฟิกเพิ่มเติมคือการเพิ่ม Related Value เข้ามาในคอนฟิกของAlarmWorX Loggerด้วย เพื่อเก็บในฐานข้อมูลด้วย (ถ้าไม่ทำก็จะเก็บเฉพาะAlarmปกติ)
ในAlarmWorX Logger ให้เลือกกิ่ง Alarms แล้วคลิ้ก Edit Subscription
image
รูปที่ 3
เลือก ICONICS AlarmWorX32 Serverซึ่งทำหน้าที่ตรวจจับAlarm แล้วคลิ้ก Edit
image
รูปที่ 4

ที่แท็ป Attributes ให้เลือก Limit หรือ Digital จากรายการ Event Category แล้วเลือกสัญญาณ Related Value จากรายการซ้ายมือ ทำการ Add เข้าไปในรายการขวามือเพื่อเพิ่มเข้ามาเป็นสัญญาณที่จะให้AlarmLoggerเก็บลงฐานข้อมูล ให้จดจำหมายเลขAtributeในกรอบสีแดงไว้ด้วยเพื่อนำมาอ้างอิงในขั้นตอนต่อไป แล้วคลิ้ก OK, OK
image
รูปที่ 5

คลิ้ก Apply

ที่กิ่ง Alarm ให้เพิ่มคอลัมน์ที่จะใช้เก็บสัญญาณ Related Value เข้ามาใหม่
image
รูปที่ 6

ให้ตั้งชื่อคอลัมน์ในช่อง Name เช่น RelatedValue1 (หรืออย่างอื่นที่ไม่ขึ้นต้นด้วยตัวเลข, ไม่มีช่องว่างหรืออักขระพิเศษ) แล้วเลือก Attribute ลำดับที่ต้องการ โดยดูจากรูปที่ 5 เช่น Related Value1 จะเป็น Attributeลำดับที่8 คลิ้ก Apply
 image
รูปที่ 7
สร้างคอลัมน์ใหม่ขึ้นมาแล้วMapกับRalated Value (Attribute) ให้ครบตามต้องการ แล้วทำการบันทึก Alarm ตาม VDO ข้างต้นตามปกติ

จากบทความเราสามารถเก็บ Batch Data ตามที่ต้องการได้สูงสุด 20 Column (20Columnหมายถึงข้อมูล20ข้อมูลที่เก็บได้ใน ณ เวลานั้น เช่น แต่ละเวลา t1,t2,t3 เก็บข้อมูลBATCHได้เวลาละ20ค่าซึ่งเป็นสัญญาณกลุ่มเดียวกัน โดยไม่รวมข้อมูลAlarmที่สามารถเก็บได้ ณ ช่วงเวลาเดียวกันด้วย เพื่อความเข้าใจเพิ่มเติมโปรดพิจารณาVDOในบทความครับ หรือถ้าผ่านการอบรมมาแล้วก็จะมีความเข้าใจได้ง่ายครับ)
 
ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการเก็บข้อมูล V1, V2,..., V20 ซึ่งอาจประกอบด้วย Batch No, Batch Serial, ฯลฯ โดยจะเก็บเมื่อสัญญาณ Bit1 มีค่า ON แต่ละครั้ง (เปลี่ยนจาก OFFเป็นON)
 
ก็ให้ใช้สัญญาญ Bit1 เป็นสัญญาณเงื่อนไขAlarm
แล้วใช้สัญญาณ V1,V2,..., V20 มาใช้เป็น Related Value (ในบทความ)
 
ทุกครั้งที่สัญญาณBit1เปลี่ยนจาก Off --> On ก็จะมีการเก็บข้อมูล V1, V2, ..., V20 ไว้ ซึ่งจะมีเวลา ณ ขณะที่เกิดเหตุการณ์ถูกบันทึกไว้ด้วย
 
เวลาเอาข้อมูลมาแสดง เราสามารถใช้ Data Gridหรือ Report Viewer ของ GENESIS32 หรือทูลอื่น ๆ เช่น Excel มาดึงข้อมูลไปแสดงได้ เราสามารถกรองข้อมูลไปแสดงได้เช่นกัน เช่นเอาข้อมูลเฉพาะใน Area ที่ต้องการ(เราสามารถแบ่งAlarmไว้ในAreaต่างๆได้) หรือเอาเฉพาะที่ V1มีค่าB001มาแสดงเป็นต้น
 
แต่ละสัญญาณAlarmจะเก็บข้อมูลBatchได้20สัญญาณ
ดังนั้นถ้าเรามีสัญญาณAlarmตัวอื่นก็สามารถเก็บBatchชุดอื่นๆได้อีก20สัญญาณต่อ1Alarmครับ
 
เช่น
 
สัญญาณAlarm A1 เก็บข้อมูลBatchกลุ่ม V1,V2, ... , V20
สัญญาณAlarm A2 เก็บข้อมูลBatchกลุ่ม W1,W2, ... , W20
สัญญาณAlarm A3 เก็บข้อมูลBatchกลุ่ม X1,X2, ... , X20
 
โดยแต่ละBatchก็สามารถกรองเอาข้อมูลออกมาเฉพาะBatchนั้น ๆ เพื่อนำมาแสดงในรายงานหรือไปใช้งานต่อได้ครับ เช่นในExcel, Data Grid ฯลฯ
 
เราก็จะได้ข้อมูลเช่น
 
เวลา t1 V1=1, V2=2, V3=.....
เวลา t1 W1=1, W2=2, W3=.....
เวลา t1 X1=1, X2=2, X3=.....
 
เวลา t2 V1=11, V2=21, V3=.....
เวลา t2 W1=12, W2=22, W3=.....
เวลา t2 X1=13, X2=23, X3=.....
 
เวลา t3 ....
เช่นนี้ไปเรื่อยๆ โดยเวลาt1, t2, t3 คือเวลาที่สัญญาณAlarmหรือเงื่อนไขเป็นจริงครับ เช่นมาจากPLCหรือตามที่เราสั่งการOPC tagหรือ DIของPLC


 

การนำข้อมูลมาแสดงหรือใช้งาน

การนำข้อมูลออกมาแสดงสามารถทำได้หลากหลายวิธี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น